"ศิลป์อีสาน" ศิลปะสร้างคุณค่าและมูลค่าให้ชุมชน

Takorai Art Gallery









เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  นายวิเชียร จันทรโณทัย ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน "ศิลป์อีสาน" ที่หอศิลป์ตะโกราย คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา 

โดยมี นายโกวิท ผกามาศ รองผู้อำนวยการ  สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้เป็นผู้กล่าวรายงาน และงานนี้ก็มีคณะกรรมการในการคัดเลือกศิลปินในส่วนของภาคอีสาน  เพื่อนำผลงานที่ได้รับคัดเลือกมาร่วมแสดงในงานศิลป์อีสานครั้งนี้









สำหรับคณะกรรมการถ้าเอ่ยชื่อมา  คนในแวดวงศิลปะต้องรู้จักกันเป็นอย่างดีค่ะ  แต่สำหรับปูขอออกตัวเลยนะคะ  ว่าไม่สันทัดเลยจริง ๆ และด้วยความที่เป็นคนอีสานลูกหลานชาวนา  พอได้เห็นผลงานของ คุณสุนทร  พาพาน  ที่นำไปร่วมจัดแสดงในงาน "ศิลป์อีสาน" ครั้งนี้  ทำให้ปูตั้งใจว่า  จะขอเป็นกระบอกเสียง  ในการบอกเล่าเรื่องราวผ่านบทความ  เพื่อให้ผู้ที่สนใจและอยากจะร่วมกันอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน  ได้รู้ว่ามีงานแสดงผลงานศิลปะ  ที่ถ่ายทอดเรื่องราวตลอดจนแนวคิดเกี่ยวกับอีสานอยู่ที่ "หอศิลป์ตะโกราย" คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  ถ้าสนใจก็สามารถไปชมผลงานกันได้


(ขอบคุณภาพจากเฟสบุ๊ก Soon Papan)






วัฒนธรรมอีสานถือเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมที่สำคัญของไทยเรา  ซึ่งการแสดงผลงานในครั้งนี้  นอกจากจะสร้างคุณค่าให้กับชุมชนแล้ว  ก็สามารถพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอีสานบ้านเราให้ไปสู่สากลได้อีกด้วย  และงานศิลปะแขนงต่าง ๆ ก็เป็นการสื่อสารได้ดีมาโดยตลอด  เพราะงานศิลปะถือว่าเป็นภาษาสากล  ที่ผู้คนใช้ถ่ายทอดและสื่อสารถึงกันได้


(ขอบคุณภาพจากเฟสบุ๊ก Soon Papan)






อย่างที่บอกค่ะคนในแวดวงศิลปะคงจะรู้จักคณะกรรมการแต่ละท่านเป็นอย่างดี   แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้จัก  ในบทความนี้ปูได้เลือกคลิปวีดีโอสัมภาษณ์แต่ละท่านมาแบ่งปันให้กับผู้อ่านทุกคนด้วยค่ะ  ซึ่งคลิปและบทความเกี่ยวกับประวัติและผลงานแต่ละชิ้นที่ปูเลือกมา  ทำให้ปูเข้าใจและรับรู้ถึงวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของศิลปินขึ้นมาบ้างแล้ว  ว่ากว่าผลงานจะออกมาได้แต่ละชิ้นนั้น  ผู้สร้างงานต้องใส่อะไรลงไปบ้าง  โดยเฉพาะหัวใจและจิตวิญญาณ  มีเรื่องราวมีความเป็นมาเป็นไป มีเหตุและผลในตัวของมัน  ร่ายมาอย่างนี้แล้วผู้อ่านหลาย ๆ คนคงอยากจะไปทำความรู้จักกันแล้วใช่ไหมคะ ตามไปดูกันเลยค่ะว่าคณะกรรมการมีใครบ้าง


คุณปัญญา  วิจินธนสาร  ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ปีพุทธศักราช 2557


(ภาพจากการแค็ปสกรีนหน้าจอมือถือคลิปในยูทูบช่องสำนักงานศิลปะและวัฒนธรนมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม)









"ไม่อยากให้คนไทยคิดแค่ว่ามันคือโบราณสถานโบราณวัตถุที่หลงเหลืออยู่  แต่ถ้าได้สัมผัสจริง ๆ จะเข้าใจว่ามันคือรากเหง้าที่เป็นรูปธรรมชิ้นสุดท้าย  ที่ยังแสดงความเป็นไทยอยู่"

คลิปสัมภาษณ์คุณปัญญา  วิจินธนสาร


บทความสัมภาษณ์คุณปัญญา  วิจินธนสาร โดย Wurkon


คุณสมศักดิ์  เชาวน์ธาดาพงศ์  ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ปีพุทธศักราช 2560



(ภาพจากการแค็ปสกรีนหน้าจอมือถือคลิปในยูทูบช่องนิตยสารอนุรักษ์)











"คนที่จะทำงานได้ดีต้องไม่ทิ้งรากเหง้าของตัวเอง  สิ่งที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมเป็นอะไรที่เราต้องรักษา ถึงแม้ว่าเราจะรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา  แต่ต่างชาติเขาไม่อยากเห็นผลงานหรือศิลปะเหมือนพวกเขาหรอก  เขาอยากเห็นอะไรที่มันแตกต่างจากพวกเขา  และสิ่งที่แตกต่างก็คือรากเหง้าทางวัฒนธรรม"


คลิปสัมภาษณ์คุณสมศักดิ์  เชาวน์ธาดาพงศ์  ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ปีพุทธศักราช 2560 



คุณศราวุธ  ดวงจำปา  ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ปีพุทธศักราช 2560


(ภาพจากการแค็ปสกรีนหน้าจอมือถือคลิปในยูทูบช่องกรมส่งเสริมวัฒนธรรม DCP)










"สร้างงานศิลปะ  อย่ากลัวเชย  ตราบใดที่ออกมาจากข้างในความรู้สึกจริง ๆ มันจะมีแก่นสาร  จะมีเนื้อหา มันจะมีพลัง  ผลงานทางศิลปะ สำคัญตรงที่วิิญญาณของศิลปินที่อยู่ในงานศิลปะชิ้นนั้นมากกว่า  ที่ถ่ายทอดออกมา มันจะมีคุณค่า และให้ประโยชน์ต่อสังคมไหมเกี่ยวกับการเรียนรู้"


คลิปสัมภาษณ์คุณศราวุธ  ดวงจำปา


บทความเกี่ยวกับประวัติและผลงานคุณศราวุธ  ดวงจำปา


คุณธวัชชัย  สมคง  ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ และบรรณาธิการบริหารนิตยสาร Fine Art


(ภาพจากการแค็ปสกรีนหน้าจอมือถือคลิปในยูทูบช่อง AMARIN TVHD)










"ประเทศที่พัฒนาแล้วใช้ศิลปะให้มันอยู่ในชีวิตประจำวัน  อยู่กับวิถีชีวิต อย่างญี่ปุ่นแพ็กเก็จหีบห่อบ้านเมืองล้วนงดงาม เพราะศิลปะหยั่งรากลึกเข้าไปในวิถีชีวิต  เมื่อไหร่ที่ประเทศไทยเราให้ความสำคัญของศิลปะ ให้เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันเนี่ย  ประเทศไทยเราพัฒนาทันที เพราะทุกอย่างสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้" 

คลิปสัมภาษณ์คุณธวัชชัย สมคง



คอลัมน์ข่าวเกี่ยวกับคุณธวัชชัย สมคง


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยารัตน์  จุลสุคนธ์  รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัยคณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน



(ภาพจากการแค็ปสกรีนหน้าจอมือถือข้อมูลอาจารย์สาขาทัศนศิลป์ - มทร.อีสาน)



ลิงก์ประวัติและผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยารัตน์  จุลสุคนธ์


(ภาพจากการแค็ปสกรีนหน้าจอมือถือข้อมูลอาจารย์สาขาทัศนศิลป์ - มทร.อีสาน)












ลิงก์รายละเอียดผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยารัตน์  จุลสุคนธ์


หลังจากที่ไปไล่เรียงอ่านประวัติและติดตามดูผลงานของคณะกรรมการแต่ละท่านแล้วทำให้เข้าใจได้ทันทีว่าทำไมพวกท่านถึงได้มาเป็นผู้คัดเลือกศิลปินที่จะนำผลงานมาแสดงในงาน "ศิลป์อีสาน" ในครั้งนี้  และไม่สงสัยเลยว่าทำไมถึงเกิดงานนี้ขึ้นมา  ยิ่งได้เห็นวิสัยทัศน์ของแต่ละท่านแล้ว  ยิ่งรู้สึกชื่นชมและเห็นว่าวงการศิลปะนั้นนอกจากจะทำให้โลกของเรางดงามน่าอยู่แล้ว  


ศิลปินแต่ละคนกำลังทำหน้าที่สืบสานและส่งต่อรากเหง้าทางวัฒนธรรมของบ้านเมืองพวกเขาในรูปแบบศิลปะ  เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ว่าต้นกำเนิดของตัวเองมีที่มาที่ไปอย่างไร  อย่างงาน "ศิลป์อีสาน" ที่กำลังจัดแสดงอยู่ที่ "หอศิลป์ตะโกราย" คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานในตอนนี้ค่ะ มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อวัฒนธรรมของเราให้ทั่วโลกได้รับรู้กันนะคะ  ว่าบ้านเมืองเรามีอะไรที่งดงามและเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง  ด้วยการสืบทอดผลงานศิลปะพื้นบ้านที่อยู่ใกล้ตัวเราให้คงอยู่ค่ะ


ท้ายนี้ปูในนามบล็อกอีสานพันทางก็ขอเป็นตัวแทนคนไทย  โดยเฉพาะคนอีสานขอบคุณไปยังทาง

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ที่ได้จัดกิจกรรม "ศิลป์อีสาน" ขึ้นมา  ขอบคุณ "หอศิลป์ตะโกราย" คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน  ที่เป็นเจ้าภาพจัดเตรียมสถานที่ในการจัดแสดงงานดี ๆ ในครั้งนี้  ขอบคุณคุณสุนทร พาพาน  หนึ่งในศิลปินที่นำผลงานมาร่วมจัดแสดง  ที่ใจดีแบ่งปันข้อมูลทำให้ปูมีแรงบันดาลใจในการเขียนบทความนี้ขึ้นมา  และที่ขาดไม่ได้ขอบคุณศิลปินทุกท่านที่ได้นำผลงานมาร่วมแสดง  ทำให้ทุกคนที่เข้าไปเยี่ยมชมได้เห็นและสัมผัสผลงานอันทรงคุณค่าค่ะ


ขอขอบคุณภาพจาก


สำหรับวันนี้ปูก็ต้องขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมบล็อกอีสานพันทางนะคะ แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปนะคะ  ขอบคุณและสวัสดีค่ะ


ติดตามผลงานอื่น ๆ ของผู้เขียนได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้คะ


📱 ช่องทางการติดต่อ 📲


Line: Siriwanna9

Facebook: Siriwanna W. Pavese



📑 ติดตามผลงานได้ที่ 📑



📝Blockdit 📝



📷 YouTube 📷



ความคิดเห็น

  1. รักช่องนี้ทรงคุณค่าและ อนุรักษ์ความเป็นไทยอิสานโดยแท้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณกีกี้เดฟที่แวะมาให้กำลังใจนะคะ 🙏🙏🙏😍😍

      ลบ

แสดงความคิดเห็น

Amazon Shopping

บทความที่ได้รับความนิยม